Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/755
Title: ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์วิชาทักษะสัตว์ปีกเรื่อลี้ยงไก่สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์
Other Titles: Experience-based instructional packages on chicken production in the poultry raising skills course for the third year vocational certificate students in Phetchabun College of Agriculture and Technology
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญเลิศ ส่องสว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนม เขียวนาคู, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ไก่--การเลี้ยง.
การสอนด้วยสื่อ
แบบเรียนสำเร็จรูป
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์วิชาทักษะ สัตวปีกเรื่องการเลี้ยงไก่ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ให้มีประสีทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไวั (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์วิชาทักษะสัตวัปีก เรื่อง การเลี้ยงไก่ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา เกี่ยวกับความเหมาะสมของชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์วิชาทักษะสัตว์ปีกเรื่องการเลี้ยงไก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 42 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์วิชาทักษะสัตวัปีก เรื่อง การเลี้ยงไก่ จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 3 การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์เพื่อเลี้ยงไก่ หน่วยประสบการณ์ที่ 6 การเลี้ยงไก่เนื้อ และหน่วยประสบการณ์ที่ 12 การป้องกันโรคและพยาธิไก่ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็น นักศึกษาที่มีค่อความเหมาะสมของชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อบูลได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า £1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์มีประสิทธิภาพ 80.67/81.33,82.34/82.00 และ79.20/80.33 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักศึกษาที่เรียนจากชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความกัาวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำลัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษาที่เรียนจากชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีดวามคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์อยู่ใน ระดับมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/755
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83591.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons