กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7552
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมที่ดิน ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการกรมที่ดินในภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Job satisfaction of government offcers the case study of department of lands in the southern part of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ สมเกียรติ แสงรุ่ง, 2496- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุขุมาลย์ ชำนิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ความพอใจในการทำงาน--ไทย (ภาคใต้) |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานชองข้าราชการกรมที่ดิน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คึอ (1) เพี่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมที่ดินที่ปฏิบัติงาน ในภาคใต้ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพนธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมที่ดินในภาคใต้ (3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการต่อกรมที่ดิน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการกรมที่ดินที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง กระบี่ และพังงา จำนวน 460 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ท และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบเอฟ การทดสอบแบบท การทดสอบด้วยวิธีการเชฟเฟ่ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการกรมที่ดินมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง แต่เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแต่ละด้านพบจำด้านที่มีระดับความพึงพอใจสูงมีอยู่ 3 ด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง มีอยู่ 4 ด้านเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสิ่งแวดลัอมที่ทำงาน และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของข้าราชการ พบว่า ข้าราชการที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับตำแหน่ง และช่วงของเงินเดึอนที่แตกต่างกันจะมีผลต่อความพึงพอใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน สายงาน และ ที่ตั้งของสถานที่ทำงานที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7552 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License