กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7566
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the job satisfaction of hotel employees in Northeast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
ชัยพร ศรีโบราณ, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ
วินัย รังสินันท์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ความพอใจในการทำงาน--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พนักงานโรงแรม--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) วัดระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (3) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตาม เพศ ระดับตำแหน่ง ระดับการศึกษา และกลุ่มจังหวัดที่ตั้งโรงแรม และ (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 390 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด แบ่งเป็น 3 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยคะ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test วิธีการของสติวเดนท์ นิวแมน คูลส์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า พนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความพึงพอใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก พนักงานโรงแรมที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ตั้งโรงแรมต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พนักงาน โรงแรมที่มีระดับตำแหน่งต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพนักงานระดับบริหารมีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากพนักงานโรงแรมที่มีเพศ ระดับตำแหน่ง และระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พนักงานโรงแรมที่อยู่กลุ่มจังหวัดที่ตั้งโรงแรมต่างกันมีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพนักงานโรงแรมในกลุ่มจังหวัดศูนย์กลางเศรษฐกิจและกลุ่มจังหวัดชาายแดนมีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มจังหวัดที่ไม่เป็นศูนย์กลางเครษฐกิจและชายแดนปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานมความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านความนั่นคงในการทำงาน ด้านสภาพแวดลัอม การทำงาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านการบังกับบัญชา ด้านค่าตอบแทนแสะสวัสดิการ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสำเร็จในการทำงาน ตามลำลับ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงแรมควรใช้ระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล ร่วมมือกับโรงแรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงปัจจัยจูงใจและปัจจัยอนามัยอยู่เสมอ และประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสริมสร้างความสามัคคีในองค์การการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Management : TQM)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7566
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77172.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons