กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7577
ชื่อเรื่อง: อำนาจของพนักงานเจ้าหนัาที่และมาตรการลงโทษ กรณีฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Authority of competent Official a Punishment under Section 35 of National Park Act, B.E.2562 (2019)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
เมรญา บางบน, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: พนักงานเจ้าหน้าที่
การลงโทษ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
พระราชบัญญัติอุทยานแพ่งชาติ พ.ศ.2562
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์การนำโทษทางอาญา โทษปรับรายวันและมาตรการบังคับทางปกครองมาใช้บังคับ กรณีฝ่าสนคำสั่งทางปกครอง ดามมาตรา 35 พระราชบัญญัติอุทยานแพ่งชาติ พ.ศ.2562 (2) ศึกษาวิเคราะห์อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการออกคำสั่งทางปกครองและการใช้มาตรการบังคับทางปกครองของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติของประเทศนิวซีแลนด์ (3) ให้ได้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่เหมาะสมใน การออกคำสั่งทางปกครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ การดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครอง และการนำมาตรการลงโทษมาบังคับใช้กรณีฝ่าสนคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติอุทยานแพ่งชาติ พ.ศ.2562 และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมเพี่อแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562จากการศึกษาพบว่า (1) มาตรการลงโทษกรณีฝ่าสนคำสั่งทางปกครองของประเทศไทยมีบทลงโทษทางอาญาโทษปรับรายวันเพี่อบังคับให้ปฏิน้ติตามคำสั่งทางปกครอง และมาตรการบังคับทางปกครอง เมื่อมาตรการบังคับทางปกครองมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ปฎีบติตามคำสั่งทางปกครอง โทษทางอาญามีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษกรณี!ม่ปฏินิติตามคำสั่งมีใช้บังคับให้ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง ลักษณะชองโทษปรับรายวัน กำหนดไว้จงมีวัตถุประสงค์ที่ซ้ำซ้อนกับมาตรการบังคับทางปกครอง (2) มาตรการลงโทษกรณีฝ่าสนคำสั่งทางปกครองของประเทศญี่ปุ่นและประเทศนิวซีแลนด์ มีบทลงโทษทางอาญาเพียงประการเดียว ส่วนการออกคำสั่งทางปกครองของประเทศญี่ปุ่นนั้น ต้องประกาศต่อสาธารณะชนถึงผลกระทบก่อนที่จะดำเนินการ ผู้มีอำนาจออกคำสั่งคือ รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด และการออกคำสั่งทางปกครองของประเทศนิวซีแลนด์ ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง คือ ผู้พิทักษ์ป่า (3) ผู้พิจารณาออกคำสั่งทางปกครองของประเทศไทยควรนำแนวทางของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้ เพื่อให้ข้อเที่จจริงที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบที่รัดกุมก่อนออกคำสั่งทางปกครอง การลดการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ควรกำหนดให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชาที่ลำดับสูงกว่าหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ กล่าวคือ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ และต้องกำหนดระยะเวลาในกระบวนการพิจารณาไว้ด้วย เพื่อมิให้เกิดความเนิ่นช้าและยังความเสียหายที่จะเกิดต่อทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุด ส่วนมาตรการการลงโทษกรณีฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นบทลงโทษทางอาญาและโทษทางปกครองควรบัญญัติแยกออกจากกันให้ชัดเจน เนื่องจากโทษทางปกครองมีวัตถุประสงค์เพี่อบังคับให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง ฝ่ายปกครองมีอำนาจบังคับทางปกครองโดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลและไม่ต้องรอผลคดีอาญาสิ้นสุดก็ สามารถดำเนินการทางปกครองได้ ผู้ศึกษาเห็นควรใช้มาตรการทางปกครองแทนโทษทางอาญา หรือหากต้องการใช้โทษทางปกครองควบคู่ไปกับโทษทางอาญา ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพี่อให้เน้นไปตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติอย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7577
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons