กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7584
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการปล่อยชั่วคราวและการบังคับตามสัญญาประกันโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on provisional release and enforcement of contract made by a person standing as security during the court proceedings
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา เพียรลํ้าเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนัชกร ทินทนงค์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การปล่อยชั่วคราว
หลักประกัน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัญหาการปล่อยชั่วคราวและการบังคับตามสัญญาประกันโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย (2) ศึกษา เปรียบเทียบ กฎหมายที่เกี่ยวกับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาลของไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวและการบังคับตามสัญญาประกันโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาลตามกฎหมายไทยโดยเปรียบเทียบกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ (4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวจำเลย และการบังคับตามสัญญาประกันโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) มีการนำแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม มาใช้ในการกําหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาล (2) หลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการปล่อยชั่วคราวและการบังคับตามสัญญาประกันโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาลตามกฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ เคร่งครัดกว่าของประเทศไทย (3) กฎหมายของไทยเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวและการบังคับตามสัญญาประกันโดยใช้บุคคลเป็นหลักประกันในชั้นศาลไม่เคร่งครัด และไม่มีบทลงโทษผู้หลบหนีระหว่างปล่อยชั่วคราวในชั้นศาล (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2548 ข้อ 11 และเพิ่มเติมมาตรา 117/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้มีการกำหนดโทษแก่จำเลยที่หลบหนีระหว่างปล่อยชั่วคราว ตลอดจนพัฒนาการบังคับตามสัญญาประกันให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับต่างประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7584
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons