กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7585
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the knowledge management models in Chevron Thailand exploration and production, company limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ นิติพล สิงห์ปรุ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ราณี อิสิชัยกุล |
คำสำคัญ: | การเรียนรู้องค์การ การบริหารองค์ความรู้ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิชัยครั้งนี้มีวัตคุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติความรู้ องค์ความรู้ในองค์การ การบริหารจัดการความรู้ในบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (2) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้การกัาวสู่องค์การที่ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความรู้ใน บริษัทฯ (3) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความรู้ และสิ่งที่ท้าทายของการบริหารจัดการความรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ในบริษัทฯ (4) เสนอแนะการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของ บริษัท เชฟ่รอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด การวิจัยเป็นการวิจัยแบบบูรณาการ การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.964 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน และการทดสอบแบบที และแบบแอฟ เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) บริษัทฯมีลักษณะการจัดการความรู้โดยมีขั้นตอนเป็น 3 ขั้นได้แก่การรวบรวมความรู้ภายในองค์การ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (2) ผลสำรวจความสำเร็จในการใช้เครื่องมือจัดการความรู้ขององค์การ ซึ่งส่วนใหญ่ได้มีการจัดทำบนระบบสารสนเทศ ผลสำรวจความสำเร็จอยู่ในระดับ”ต่ำ” (3) พนักงานบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัดที่มีลักษณะบุคคลต่างเพศและต่าแหน่งงานที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการความรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) การใช้เครื่องมือยังมีการกระจุกอยู่ในกลุ่มพนักงานบนฝังโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับผู้บังคับบัญชา สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ บริษัทหรือส่วนงานที่รับผิดชอบดูแลควรมีการกำหนดรูปแบบและวัตคุประสงค์การใช้เครื่องมือในการจัดการความรู้แต่ละชนิดให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพสารสนเทศในองค์การ โดยเปิดเผยให้พนักงานทุกระดับทราบอย่างทั่วถึง ควรหาวิธีการปรับปรุงเพิ่มเติมประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้บนระบบสารสนเทศให้มีความสเถียรและสะดวกต่อผู้ใช้ทุกระดับและทุกสถานที่ที่ทำงาน ส่วนกระบวนการจัดการความรู้ในองค์การ ในส่วนการจัดการความรู้ซ่อนเรันนั้น ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์รูปแบบการวัดผล ประเมินและติดตามให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7585 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118911.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License