Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7589
Title: การศึกษาแนวโน้มการส่งออกน้ำตาลของไทย
Other Titles: Study of the trend of exported Thai sugar
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ
นิชาภา ปุณณาวัฒน์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
น้ำตาล--การส่งออก.--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวโน้มการส่งออกน้ำตาลของไทยในภาพรวม (2) ศึกษาแนวโน้มการส่งออกน้ำตาลของไทย โดยจำแนกตามบริษัทส่งออกน้ำตาลของไทยในแต่ละปี (3) ศึกษาแนวโน้มภาพรวมตามชนิดของน้ำตาล (4) ศึกษา SWOT การส่งออกน้ำตาลของไทย โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันที่สำคัญผลการศึกษาพบว่า (1) แนวโน้มการส่งออกน้ำตาลในอีก 3 ปีข้างหน้า ปี 2551-2553 มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมีขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มมาก (2) การส่งออกน้ำตาลของประเทศไทยในปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2546-2548 เกิดจากสภาวะอากาศแห้งแล้ว ผลตอบแทนอ้อยต่ำ เกษตรกรชาวไร่อ้อยจึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าอ้อย (3) แนวโน้มการส่งออกภาพรวมชนิดน้ำตาลทั้งชนิดทรายขาวและทราชดิบสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศบราซิลขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลและเอธานอล (4) สภาพการแข่งขันน้ำตาลของประเทศไทยมีข้อเด่น ได้แก่ ความได้เปรียบด้านการตลาด เนื่องจากว่าไทยอยู่ใกล้ตลาดนำเข้าที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของลูกค้า เพราะว่าราคาซื้อขายของไทยขายแบบ FOB (Free on board) ส่วนจุดด้อยของไทย คือ ด้านปริมาณการส่งออกน้ำตาลของไทยขึ้นอยู่กับผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศและสต๊อดน้ำตาล สัดส่วนในการส่งออกน้ำตาลทรายขาวขึ้นอยู่กับราคาและระดับการส่งออก การผลิตอ้อยมีต้นทุนในการผลิตที่มีแนวโน้มก่อนข้างสูง มีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7589
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_112675.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons