Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/759
Title: การพัฒนาบทบาทสู่การเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร หน่วยศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The role development towards being in-charge nurses of pediatric surgery department at a Government University Hospital in Bangkok Metropolis
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรศรี ศรีอัษฎาพร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พวงยุพา ยิ้มเจริญ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
หัวหน้าพยาบาล--การบริหาร
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐ--ไทย--กรุงเทพฯ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาบทบาทสู่การเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรหน่วยศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมเด็ก จำนวน 14 คน ได้แก่ พยาบาลระดับปฏิบัติการที่มีประสบการณ์เป็นหัวหน้าเวร ตั้งแต่1 ปี ขึ้นไป 10 คน พยาบาลระดับบริหาร 2 คน และอาจารย์แพทย์ 2 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามแนวคำถามหลักที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาสัมภาษณ์ 30-60 นาทีต่อคน ผู้วิจัยถอดเทปแบบคําต่อคํา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบทบาทสู่การเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรศัลยกรรมเด็ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย 1) การเตรียมก่อนเข้าสู่ตําแหน่งหัวหน้าเวร ซึ่งมี 2 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมโดยหน่วยงานและการเตรียมตนเอง ดังนี้ (1) การคัดเลือกพยาบาลที่มี “แวว” มาฝึกปฏิบัติงานที่เป็นหน้าที่ของหัวหน้าเวรกับรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์สูง (2) เริ่มให้เป็นหัวหน้าเวรตัวจริงโดยให้ขึ้นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน และการเตรียมตนเอง ได้แก่ (3) เรียนรู้โดยการสังเกตการปฏิบัติงาน พูดคุยซักถามรุ่นพี่ และจัดบันทึก (4) ศึกษาค้นคว้าจากการอ่านหนังสือและสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต 2) การพัฒนาบทบาทของการเป็นหัวหน้าเวรในระหว่างการปฏิบัติงาน ได้แก่ การขอความช่วยเหลือขณะทําหน้าที่หัวหน้าเวรมือใหม่ ทั้งจากรุ่นพี่ หัวหน้าตึก และผู้ช่วยพยาบาลอาวุโส 3) การจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึกของ “หัวหน้าเวรมือใหม่” ได้แก่ (1) เตรียมตัวดีอย่างไร ก็ยังรู้สึกว่าไม่พร้อมตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว เครียด ไม่มันใจเมื่อต้องพบกับเคสยาก ๆ (2) การเป็นหัวหน้าเวรมากับวุฒิภาวะ และ 4) สิ ั ่งที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กบ ั “ว่าที่” หัวหน้าเวร ได้แก่ (1) การใช้รูปแบบการพยาบาลเซลคอนเซ็ป (2) การได้รับโอกาสฝึกอบรมและเพิ่มพูนความรู้ ระหว่างปฏิบัติงานตั้งแต่เป็นพยาบาลจบใหม่ (3) การฝึกปฏิบัติการบริหารจัดการการพยาบาลเมื่อเป็นนักศึกษาพยาบาลปีที่ 4 นอกจากนี้ยังมีสิ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่ง จากความคิดเห็นข้อเสนอแนะ จากผู้ที่เคยปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าเวร คือ (4) พยาบาลหัวหน้าเวรใหม่ต้องการพี่เลี้ยงที่มีความพร้อมในการสอน ใจเย็น ควบคุมอารมณ์ได้ดี รวมทั้งการให้น้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมและ (5) การได้รับข้อมูลป้อนกลับที่ชัดเจน เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (บริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/759
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 155172.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons