Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7593
Title: แนวโน้มของธุรกิจการให้บริการโครงข่ายสื่อสารข้อมูลในประเทศไทย
Other Titles: Trends of data communication network services in Thailand
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรชัย พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมทย์ คงสวัสดิ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ระบบสื่อสารข้อมูล
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัฅถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของธุรกิจการให้บริการโครงข่ายสื่อ สารข้อมูลในประเทศไทย ในด้านต่างๆ ดังนี้ (1) ปัจจัยกำหนดทิศทางของธุรกิจ (2) บทบาทของ ธุรกิจในด้านต่างๆ (3) รูปแบบของการให้บริการ และ (4) สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม ในการศึกษาแนวโน้มของธุรกิจใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย โดยใช้แบบสอบ ถาม 3 รอบ ศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 ท่าน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามตามเทคนิคเดลฟาย ได้นำมาวิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า แนวโน้มของธุรกิจการบริการโครงข่ายสื่อสารข้อมูลมีแนวโน้ม ค่อนข้างมากในประเด็นต่อไปนี้ ต้นทุน การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบจากภาครัฐ การหาแหล่งรายได้ ใหม่ๆ เทคโนโลยี คุณภาพของบริการ รูปแบบของบริการ ภาวะเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยสำคัญในการ กำหนดทิศทางของธุรกิจ การบริหารต้นทุนจะมีความสำคัญมากขึ้นและการบริการรูปแบบใหม่ๆ จะเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง การสาธารณสุข การ ศึกษา สังคมและวัฒนธรรม บริการ ISDN และ X.25 จะมีความต้องการลดลง ตลาดของ Leased Line/Leased Circuit, Frame Relay และ ATM ยังคงเติบโตต่อไป ความต้องการ จะมากขึ้นในบริการ xDSL, IPsec, Gigabit Ethernet, Dark Fiber และบริการ สื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย แรงผลักดันที่ส่ง ผลกระทบต่อสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม ได้แก่ การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ การคุกคาม ของสินด้าและบริการทดแทนรวมทั้งอำนาจการต่อรองของผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการรายใหม่จะเป็น บริษัทข้ามชาติหรือบริษัทร่วมทุนที่เกิดจากการรวมตัวกันของบริษัทต่างชาติกับบริษัทในประเทศ และใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง กลยุทธ์ราคาและกลยุทธ์การร่วมทุนหรือซื้อกิจการจากผู้ให้ บริการเดิม ส่วนผู้ให้บริการรายเดิมจะใช้กลยุทธ์ได้แก่ การขยายฐานลูกค้าใหม่ การรักษาฐานลูกค้า เดิม และการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ภายหลังการเปิดเสรีโทรคมนาคมจะเหลือเฉพาะผู้ประกอบการ รายใหญ่ สินค้าและบริการทดแทนจะมีมากขึ้น และผู้ใช้บริการจะมีอำนาจต่อรองสูงขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7593
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77517.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons