กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7594
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวนและองค์การบริหารส่วนตำบลวัดธาตุ ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The analysis of management administration of the Phra That Bang Phuan and the Wat That subdistrict administrative organizations in Muang district, Nongkhai province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตติพร ดิษฐสร้อย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--หนองคาย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ (1) ปัญหาการบริหารจัดการขององค์การ บริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวนและองค์การบริหารส่วนตำบลจัดธาตุในอำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวนและองค์การบริหาร ส่วนตำบลวัดธาตุ และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การ บริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวนและองค์การบริหารส่วนตำบลวัดธาตุประสบผลสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบรวมทั้งการหา ค่าความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวนและองค์การบริหารส่วนตำบลวัดธาตุ ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย รวม 1,052 คน เก็บรวบรวมแบบสอบถามคนมาได้ 918 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.26 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,052 ชุด สำหรับสถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่ง มีความคิดเห็นไม่ แตกต่างกันกล่าวคือ (1) ปัญหาที่สำคัญคือองค์การบริหารส่วนตำบลใช้จ่ายงบประมาณอย่างฟุ่มเฟื่อย (2) แนวทางการพัฒนา ที่สำคัญคือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรจัดการพัฒนาจิตสำนึกและ ประสิทธิภาพของบุคคลากรโดยเน้นเรื่องในการใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัด รวมทั้ง การเปิด โอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ประสบผลสำเร็จ ที่สำคัญคือ การใช้กระบวนการคัดเลึอกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งตามระบบคุณธรรม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7594
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118913.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons