กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7596
ชื่อเรื่อง: | การจัดการธุรกิจการก่อสร้างในระยะเศรษฐกิจถดถอย : กรณีศึกษาบริษัทรับก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Construction business management in economic recession : a case study of construction companies in Bangkok Metropolis and the Vicinity |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจนแสง ปิโยรส สว่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ |
คำสำคัญ: | ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์--แง่เศรษฐกิจ--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการธุรกิจก่อสร้าง และ (2) แนวทางการจัดการธุรกิจการก่อสร้างในระยะเศรษฐกิจถดถอยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร หรือเจ้าซองกิจการที่ประกอบธุรกิจรับก่อสร้างที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 17,350 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 ราย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการธุรกิจการก่อสร้างด้านปัจจัยภายนอกที่สำคัญเรียงตามลำดับคือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโต และราคาวัสดุก่อสร้าง ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการก่อสร้างคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนด้านปัจจัยภายในที่สำคัญเรียงตามลำดับคือ ปัจจัยด้านการเงินที่ต้องมีเงินทุนเพียงพอ มีสภาพคล่องทางการเงิน และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัจจัยด้านการวางแผนภายใน องค์การต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริง มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ และมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในภายนอกเสมอ และ(2) แนวทางการจัดการธุรกิจการก่อสร้างในระยะเศรษฐกิจถดถอย ต้องมีการเร่งจัดหางานเพิ่มมากขึ้น ราคาที่เสนอในการประมูลงานก่อสร้างต้องต่ำลงเพื่อสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบกับปริมาณงานก่อสร้างที่น้อยลงแต่ยังคงไม่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจในการรับงาน ไม่เปลี่ยนการรับงานจากลูกค้า ยังคงรับงานจากลูกค้ากลุ่มเดิมและไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการหางาน ในระยะเศรษฐกิจถดถอยปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการวางแผนภายในองค์การ การควบคุม การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการด้านการเงินและ การจัดการด้านการตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7596 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118920.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License