กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7623
ชื่อเรื่อง: โอกาสตลาดส่งออกกุ้งแปรรูปของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Export market opportunity of Thai processed shrimp
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ศักดิ์ สายสืบสาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โศภิตดา นาคฉวี, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
กุ้ง -- การส่งออก -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: กุ้งแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศมากกว่าการส่งออกกุ้งใน ลักษณะของสินค้าขั้นปฐม ซึ่งสินค้าประเภทดังกล่าวมีการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งซึ่งมี ความพร้อมทั้งด้านวัตถุดิบที่มีจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานที่ตํ่ากว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันการ ส่งออกกุ้งในลักษณะดังกล่าว ผู้ประกอบการของไทยจึงได้พยายามคิดค้น คัดแปลงการผลิตสินค้า กุ้งให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เป็น กุ้งแปรรูปประเภทต่าง ๆ เพื่อแสวงหาโอกาสทางการตลาดให้ มากขั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาวะตลาดส่งออกกุ้งแปรรูปของไทย (2) วิเคราะห์ ศักยภาพและความพร้อมด้านการผลิต ที่มีส่วนในการกำหนดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (3) ศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งแปรรูปของไทย กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้เกณฑ์การเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกบุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องกับอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป คือ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผู้เลี้ยง ผู้ผลิต และผู้ส่งออกกุ้ง กุลาดำ สถาบันอาหาร และบริษัทผู้ส่งออกกุ้งแปรรูปจำนวน 30 บริษัท เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และในส่วนของการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลกระทบส่อการส่งออกกุ้งแปรรูป จะใช้ข้อมูลทุตยภูมิ ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพวเตอร์สำเร็จรูป Econometric Views (Evicws) ผลการวิจัยพบว่าสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกกุ้งแปรรูปที่สำคัญของไทยความ ต้องการนำเข้าในแต่ละปีมีปริมาฌสูงเพื่องจากอุปทานกุ้งภายในของทั้ง 2 ประเทศ มีไม่เพียงพอประกอบ กับวิถีการดำเนินชวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงทำให้อาหารที่ใช้เวลาในการปรุงรวดเร็วเป็นที่ต้องการมาก ขึ้น ในส่วนของศักยภาพความพร้อมของไทยในการเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกกุ้งแปรรูปที่สำคัญในตลาดโลก นั้น พบว่าประเทศไทยมีความพร้อมในด้านของ ความเพียงพอของวัตถุดิบ การมีอุตสาหกรรมส่งเสริมและ สนับสนุนที่ครอบคลุม การมีระบบการผลิตที่ยืดหยุ่น และนโยบายของรัฐที่มีส่วนในการส่งเสริมและ สนับสนุน สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น นั้นพบว่าปริมาณการส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยไปตลาดสหรัฐอเมริกาจะขึ้นอยู่กับดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก ส่วนตลาดญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกกุ้งแปรรูปจะขึ้นอยู่กับ อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีราคาผู้บริโภค และราคาส่งออกกุ้งแปรรูป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7623
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
78614.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons