กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7628
ชื่อเรื่อง: | ทัศนคติของพนักงานระดับปฏิบัติการการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Attitude of the communications authority of Thailand's employees at the operation level towards the privatization policy of public enterprises |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ กรรณุมา เลาห์กมล, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทัศนคติ |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับทัศนคติของพนักงานระดับปฏิบัติการการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่มีต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (2) ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของทัศนคติของพนักงานระดับปฏิบัติการการสื่อสารแห่งประเทศไทยต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และ (3) เสนอแนวทางในการสร้างทัศนคติของพนักงานระดับปฏิบัติการการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่เอื้อต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ สำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะกรุงเทพมหานคร โทรคมนาคมภูมิภาค 1 และ 2 และ ไปรษณีย์ภูมิภาค 1 และ 2 จำนวน 400 คน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และแบบเอฟ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธี LSD (Lease Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทัศนคติด้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสิทธิประโยชน์อยู่ในระดับมาก ด้านความมั่นคงในอาชีพอยู่ในระดับปานกลาง และด้านความก้าวหน้าในอาชีพอยู่ในระดับน้อย (2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างของทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ และ ระดับตำแหน่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ ระดับการศึกษา อายุงานที่ปฏิบัติใน กสท. อัตราเงินเดือน และหน่วยงานที่สังกัด ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ความร้คูวามเข้าใจต่อนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะว่าองค์กรควรจะสร้างความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มพนักงานที่มีอายุ 31-50 ปี และมีระดับตำแหน่ง 4-7 เพราะกลุ่มเหล่านี้มีทัศนคติเห็นด้วยต่อนโยบายการแปรรูปในระดับตํ่ากว่ากลุ่มอื่น ๆ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7628 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License