กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/762
ชื่อเรื่อง: การบริหารศูนย์การเรียนชุมชนที่เหมาะสมสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The appropriate community learning center management for Tombon administration organizations in Kanchanaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมประสงค์ วิทยเกียรติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นราทิพย์ สอาดเอี่ยม, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร
ชุมชนกับโรงเรียน--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนที่เหมาะสมของคณะกรรมการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนที่เหมาะสมของคณะกรรมการบริหารศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วย นายก กรรมการบริหาร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และครูศูนย์การเรียนชุมชน และ (3) เสนอแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนที่เหมาะสมสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มตัวอย่างที่ใชัในการวิจัยได้จากการสุ่มอย่างเป็นสัดส่วนและการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย นายก กรรมการบริหาร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และครูศูนย์การเรียนชุมชน กลุ่มละ 76 คนรวม 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชพเฟ่ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนกี่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารศูนย์การเรียนชุมชน พบว่า นายก กรรมการ และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีความคิดเห็นแตกต่างกับครูศูนย์การเรียนชุมชน อย่างมีนัยสำากัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านงบประมาณและด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ส่วนด้านบุคลากรและด้านการบริหารจัดการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความติดเห็นไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนด้านบุคลากรควรจัดให้มีวิทยากรภายนอกหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสอนประจำหรือสอนเสริม มีการพัฒนาบุคลากรของศูนย์การเรียนชุมชน จัดบุคลากรให้เพียงพอและมีคุณภาพ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น ด้านงบประมาณ ควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเหมาะสม ด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ควรมิสื่อเพียงพอต่อความต้องการ ด้านการบริหารจัดการ ควรจัดทำโครงสร้างการตำเนินงานอย่างเป็นระบบ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/762
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83597.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons