Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7632
Title: ปัจจัยจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดปัตตานี
Other Titles: Motivational factors for work performance of officers of sub-district administrative organizations in sensitive areas in Pattani Province
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิรา สองเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--ปัตตานี
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การทำงาน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาดวามคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบล เกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดปัตตานี จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยะรัง อำเภอยะหริ่ง และอำเภอหนองจิก (2) เปรียบเทียบปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานส่วนตำบลในพี้นที่เสี่ยงของจังหวัดปัตตานี ทั้ง 3 อำเภอ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทาง เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในพี้นที่เสี่ยงของจังหวัดปัตตานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประชากรทั้งหมดซึ่งได้แก่พนักงานส่วนตำบลใน อำเภอยะรังอำเภอยะหริ่งและอำเภอหนองจิก จำนวน 294 คน เครื่องมือที่ใชัได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก โดยมากทีสุดทีอำเภอยะรัง และน้อยทีสุดที่อำเภอหนองจิก เมื่อพิจารณาเป็นรายอำเภอ พบว่า ปัจจัยจูงใจทีมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของอำเภอยะรังได้แก่ ด้านความก้าวหน้า ของอำเภอยะหริ่งได้แก่ ด้านความท้าทายของงาน และอำเภอหนองจิกได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือ (2) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัย จูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยจูงใจของพนักงานส่วนตำบลอำเภอหนองจิก มีความแตกต่างจาก จากปัจจัยจูงใจของพนักงานส่วนตำบลในอำเภอยะรังและยะหริ่ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ใน ทุกด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบ ความสำเร็จของงาน ความก้าวหน้า และ ความท้าทายของงาน ส่วนอำเภอยะรังและยะหริงมีความแตกต่างกัน 2 ด้านคือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้า (3) ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง ของจังหวัดปัตตานีพบว่า ด้านสวัสดิการควรมีการเพิ่มจำนวนเงินเสื่องภัย และควรชัดจ่ายทันทีโดย ไม่รอเบิกจ่ายช่วงสิ้นปีงบประมาณ การให้อายุงานทวีคูณ การเลื่อนระดับเป็นกรณีพิเศษ จัดให้มีการ อบรมภาษามลายูท้องถิ่น ด้านความปลอดภัย ควรจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัย มีการผ่อน ปรนเรื่องเวลาการปฏิบัติงาน การสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในชุนชนเพื่อสร้างความ เข้มแข็งที่ยั่งยืนตลอดไป
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7632
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118925.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons