Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7646
Title: | การนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Principles of the good governance implementation to performance : a case study of police community relations in Bangkok Metropolis |
Authors: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ ถาวร สุวรรณไพฑูรย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรพร เสี้ยนสลาย |
Keywords: | ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ การบริหารงานตำรวจ การบริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติกรณีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในเขตกรุงเทพมหานคร(2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไป ปฏิบัติ (3) อุปสรรคและเสนอแนะในการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรเป็นข้าราชการตำรวจสังกัดในกองบัญชาการตำรวจนตรบาลจำนวน จำนวน 22,597 คน ทำการสุ่มตัวอย่างจากประชากรจำนวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบวัดผลครั้งเดียว การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการความ เที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .8994 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์การถดถอยพหุผลการศึกษา พบว่า (1ประสิทธิผลของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติกรณีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.43 ซึ่งการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติของตำรวจชุมชนสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับการสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร คือ คุณลักษณะของข้าราชการที่พึงประสงค์ การมีส่วนร่วมและการปฏิบัติงานตามกระบวนการจัดการบริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ โดยทั้ง 3 ตัวแปรสามารถอธิบายได้ร้อยละ 38.6 (3) จากศึกษาข้อเสนอแนะคือ กระบวนการบริหารมีความสำคัญต่อความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานดังนั้นผู้บริหารควรนำหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้คือ 1. ควรส่งเสริมด้านคุณลักษณะของข้าราชการที่พึงประสงค์ 1 AM READY ให้บุคลากรตระหนักปฏิบัติอย่างภาคภูมิใจโดยเน้น ส่วนของ 1) การวางแผน : การวิเคราะห์สถานการณ์และให้กำหนดแผนงานระบุเป้าหมายให้ชัดเจนโดยใช้ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT 2) การจัดการ: หน่วยงานต้องใช้การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบและควรลดขนาดหน่วยงานให้เล็กลง 3) ความพร้อมของบุคลากร: การประเมินระบบบริหารทรัพยากรบุคคล 4) การอำนวยการ : การบริหารเสริมแรงโดยใช้แบบการจูงใจ และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และใช้ Key Performance indicator (KPI) เป็นตัววัดผลสำเร็จของงาน 5) การประสานงาน: การสื่อสารจากบนลงล่างและให้ความสำคัญจากล่างขึ้นบน และเน้นการทำงานเป็นกลุ่มงานเพื่อนำไปสู่การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน 6)การรายงานผล ควรใช้เครื่องมือมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และใช้ Key Performance indicator เป็นตัวรายงานผลด้วยความถูกต้อง 7) แปลงวิสัยทัศน์ ลงสู่เป้าหมายระดับต่างๆ จนถึงการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมโดยยึดแนวทางในประชาชนเป็นศูนย์กลางและนำระบบรางวัลคุณภาพมาตรฐานใช้เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7646 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
118930.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License