Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7656
Title: | การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 |
Other Titles: | Study of conditions and problems of operation based on the educationa standards of primary schools under the office of Yala educational service area, zone 2 |
Authors: | จันตรี คุปตะวาทิน ภรณี สุวารักษ์, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษา--มาตรฐาน--ไทย ประกันคุณภาพการศึกษา--ไทย การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามเกณฑ์ มาตรฐานการศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 (2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ของโรงเรียนประถม ศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 (3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะในการ ดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษายะลา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 จำนวนคน 201 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 72 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ของโรงเรียน ประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก ส่วนปัญหาการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่มาตรฐานด้านผู้บริหารมี ปัญหาอยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านผู้เรียนและด้านครูผู้สอน อยู่ในระดับปานกลาง (2) สภาพและปัญหา การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ตามทัศนะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาด ต่างกัน พบว่าไม่แตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน (3) ข้อเสนอแนะที่มีความถี่สูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียนควรพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยให้เหมาะสมกับ ระดับชั้น ด้านครูผู้สอนควรมีการวางแผนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของ นักเรียนและท้องถิ่น ด้านผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7656 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_82095.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License