กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/766
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a classroom research competency building model for Students in Faculty of Education, Loci Rajabbat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาส ศรีจำนงค์
คำสำคัญ: การศึกษา -- วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แหล่งอ้างอิง: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2560), หน้า 126-144
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกยาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนและแนวทางการพัฒนาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้งสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน และ 4) ประเมินผลการ ใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสมรรถภาพการทำวิจัยใบชั้นเรียน ได้แก่ นักศึกษา ชั้นปี 34 คณะครุศาสตร์ จำนวน 286 คน ได้มาโดยการชุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิจัย อาจารย์นิเทศ และนักศึกษา จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ตรวจสอบรูปแบบจำนวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 30 คน อาจารย์ที่ปรึกยา ครูพี่เลี้ยงและผู้บริหารโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ แบบวัดเจตคดิแบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Wicoxon signcd- ranks 1est วิเคราะห์ ข้อมูลชิงคุณภาพ โดยการวิคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีสมรรถภาพค้านความรู้และสมรรถภาพค้านเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นรียนอยู่ในระดับปานกลาง และมีสมรรถภาพค้านทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับน้อย แนวทางการพัฒนาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงมีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ 2) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยใบชั้นเรียน ประกอบด้วย (1) หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำวิจัยในชั้นเรียน" (2) การให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวก (3) การสร้างเครือข่ายร่วมฝึกประสบการณ์การทำวิชัยในชั้นเรียน 3 ) ศึกษามีความรู้และทักษะในการทำวิจัยใบชั้นเรียนหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเกิดเจตคติที่ดีต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และ 4) นักศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความร่วมมือในการทำวิจัยในชั้นเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเสริมสร้งสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน รูปแบบมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/766
ISSN: 1905-4653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:STOU Education Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
44340.pdfเอกสารฉบับเต็ม493.05 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons