กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7674
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the learning organization of Siam Commercial Bank Public Company Limited in Ratchphruek Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณนิศา ตังคโนภาส, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนรู้องค์การ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด(มหาชน) สํานกงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์ (2) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์จํากัด (มหาชน) สํานกงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์ (3) เปรียบเทียบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) สํานกงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์จําแนกตามลักษณะสาขาการศึกษาครั้งนี้ ประชากรคือ พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์จํากัด (มหาชน) สํานกงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์ จํานวน 357 คน สุ่มตัวย่างแบบแบ่ง ตามสัดส่วนจำนวนพนักงานในแต่ละสาขา ได้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 189 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) สํานกงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์ในภาพรวมอยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ ร่วมกันเป็นทีม ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้และด้านการมีแบบแผนความคิด (2) ปัจจยทางการบริหารที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์จํากัด (มหาชน) สํานักงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์อย่างมีนัยสําคญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านระบบองค์การ และด้านการจูงใจ (3) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารไทยพาณิชย์จํากัด (มหาชน) สํานักงานเขตพื้นที่ราชพฤกษ์ แตกต่างกันตามลักษณะสาขา โดยสาขาที่ทํางานทุกวัน ระดับ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มากกว่าสาขาที่ทํางานสัปดาห์ละ 5 วัน ในด้านการมีแบบแผนความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และด้านการคิดเชิงระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7674
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130792.pdf10.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons