กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7678
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยในการไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานในกลุ่มบริษัทลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors against the employees applying for a membership at Bangkok Branch of the provident fund, Laguna Resorts & Hotels Company Group PCL
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนา สุทธิเกียรติ
วราลี รุ่งเรืองกนกกุล, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทลากูน่ารีสอร์ทแอนด์โฮเท็ลจำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ--พนักงาน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานในกลุ่ม บริษัท ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ (2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของพนักงานที่ไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ (4) ความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลระหว่างพนักงานที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และพนักงานที่ไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานในกลุ่มบริษัท ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ จำนวน 90 คน โดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคล ระหว่างพนักงานที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ พนักงานที่ไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ คือ ค่าเอฟ-เทสต์ และ ค่าที-เทสต์ ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี สถานภาพโสด มี การศึกษาระดับปริญญาโท อายุการทำงาน 5 ปี ขึ้นไป ทำงานในระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 20,001- 40,000 บาท (2) พนักงานที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระดับมาก บริษัทมีความมั่นคง มีสวัสดิการที่ดีแก่พนักงาน เชื่อมั่นในองค์กร (3) พนักงานที่ไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการวางแผนด้านรายได้สำหรับการเกษียณด้วยรูปแบบอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และ (4) พนักงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอกไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากกว่าพนักงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7678
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130669.pdf11.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons