กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/768
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาด้านปัจจัยตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of information system on input for educational quality assurance according to educational standards at the basic education level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา วัธนสุนทร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพยง มนิราช, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรชราภา ทองธรรมชาติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐิตินันท์ ผิวเกลี้ยง, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
สารสนเทศทางการศึกษา
ระบบสารสนเทศในโรงเรียน
โรงเรียน--มาตรฐาน.--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนา และ (2) ตรวจสอบระบบสารสนเทศ เพื่อการ ประกันคุณภาพการศึกษาด้านปัจจัย ตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การศึกษาและวิเคราะห์ระบบงานประกันคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 11 คนประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน2คน ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายนโยบายและแผนงาน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน และผู้รับผิดชอบมาตรฐานด้านปัจจัยของโรงเรียน จำนวน 4 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบระบบใหม่ที่ออกแบบ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 2 คน ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายนโยบายและแผนงาน จำนวน 1 คน ผู้รับผิดชอบมาตรฐานคุณภาพการศึกษาด้านปัจจัย จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 2 คน (2) การพัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศด้านปัจจัย โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access 2000 (3) การตรวจสอบคุณภาพของระบบ โดยผู้ใช้ระบบของโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบมาตรฐานคุณภาพการศึกษาด้านปัจจัย จำนวน 2 คน และ ครูผู้สอนโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี จำนวน 4 คน ทดลองใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นแล้วสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถของระบบ ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลทุกกลุ่มได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงผลการวิจัย พบว่า (1) ได้โปรแกรมระบบสารสนเทศด้านปัจจัยที่มีคุณภาพ พร้อมคู่มือการใช้โปรแกรม ซึ่งโปรแกรมสามารถจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาด้านปัจจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัวบุคลากรและข้อมูลคุณภาพครูตามมาตรฐานที่ 22 และ 24 รวม 20 รายการ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบสารสนเทศด้านปัจจัย พบว่า ผู้ใช้ระบบส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพทั้งในด้านการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลและผลลัพธ์ เพราะระบบที่พัฒนาขึ้นทำให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ สะดวก รวดเร็ว ทั้งได้รายงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนตลอดจนการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/768
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83600.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons