กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7699
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Customer behaviors towards the petrol station servicing
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชวลิต นลินรัตน์, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
สถานีบริการน้ำมัน
พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการ ใช้บริการ สถานีบริการน้ำมัน (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการ สถานีบริการน้ำมัน และ (3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการให้บริการของ สถานี บริการนั้ามัน ผู้วิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ มีแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมุ่งศึกษา เฉพาะผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันในหกบริษัทที่สนใจ คือ เชลล์ เอสโซ่ คาลเท็กซ์ การปิโตเลียมแห่ง ประเทศไทย บางจาก และ เจ็ตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แบบสอบถามที่ใช้ได้จำนวน 415 ฉบับ จากนั้นคำนวฌหาค่าทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการ วิเคราะห้ข้อมูล ปัจจัยส่วนบุคคลใช้ตารางแจกแจง ความถี่ ระบุค่าข้อมูลเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตราฐาน (S.D.) ส่วนสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นชาย อายุ 18-25 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี โสด จำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน อาชีพกิจการส่วนตัว/อาชีพอิสระ รายได้ต่อเดือน 10,000 บาทและต่ำกว่า จำนวนรถยนต์ที่ใช้ในครอบครัว 1 คัน (2) พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสถานี บริการน้ำมันกลุ่มตัวอย่างให้ความนิยมต่อสถานีบริการนั้ามันไม่แตกต่างกันนักในแต่ละยี่ห้อ โดยมี สถานี บริการน้ำมันเจ็ตได้รับความนิยมสูงเป็นพิเศษ ลักษณะการเติมน้ำมันคือสะดวกที่ไหนเติมที่นั้น โดยเติมน้ำมันเบนชิน 91 นิยมชื้อสินค้าในร้านสะดวกชื้อของสถานีบริการน้ำมันเจ็ด เหตุผลที่ใช้ สถานีบริการน้ำมันประจำที่ใดที่หนึ่งคือใกล้ที่ทำงาน ช่วงเวลาการเติมน้ำมัน 2-3 วัน/ครั้ง ค่าใช้จ่ายใน การเติมน้ำมัน 201-400 บาท การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีบริการน้ำมันคือห้องน้ำ ค่าใช้ จ่ายต่อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีบริการน้ำมัน 101-300 บาท การเข้าใช้บริการภายใน สถานี น้ำมันโดยไม่เติมน้ำมันไม่บ่อยนัก (3) ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการใช้บริการของสถานีบริการ น้ำ มันส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาก และ (4) มีปัจจัยส่วนบุคคลหลายด้านที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัย สำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคที่มีต่อสถานีบริการน้ำมันดังเช่นสมมติฐานที่ตั้งไว้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7699
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79043.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons