Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/770
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Factors related to service utilization of beneficiaries at pri,ary care units under Universal Healthcare Scheme in Lam Luk Ka District, Pathum thani Province
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ตาบทิพย์ ตรงสกุล, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บริการอนามัยชุมชน--ไทย
ประกันสุขภาพ
บริการการพยาบาล
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบริการของศูนย์สุขภาพชุมชน และการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านบริการ กับการใช้บริการของประชาชนผู้มีสิทธิ และ (3) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนที่ขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับศูนย์สุขภาพชุมชน 11 แห่งในเขตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 418 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างครัวเรือนแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37.29 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเป็นนักเรียนนักศึกษา มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน สำหรับปัจจัยด้านบริการของศูนย์ สุขภาพชุมชน ได้แก่ บริการที่ตรงกับความต้องการ การรับรู้คุณภาพบริการ และการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 3 ปัจจัย ส่วนการเข้าถึงบริการ อยู่ในระดับสูง ด้านการใช้บริการ พบว่า ส่วนใหญ่เคยใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน คิดเป็นร้อยละ 75.80 (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ บริการที่ตรงกับความต้องการ การรับรู้คุณภาพบริการ การเข้าถึงบริการ และการรับรู้แรงสนับสนุนทาง สังคม และ (3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ บริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมทุกศูนย์สุขภาพชุมชน ส่วนบริการฝากครรภ์ บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมมีผู้มาใช้บริการน้อย ข้อเสนอแนะของประชาชน คือ ควรเพิ่มบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานทันตกรรม การจัดช่องทางบริการพิเศษสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้สูงอายุ และการประชาสัมพันธ์บริการนอกเวลาราชการให้ประชาชนรับทราบให้มากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/770
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108730.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons