กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7707
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการประกันภัยประเภทต่าง ๆ ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer's attitude toward the various motor insurance of private car in Bangkok area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ
กอบกุล กุลเสรีรุ่งโรจน์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริชัย พงษ์วิชัย
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ประกันรถยนต์
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการประกันภัยประเภทต่าง ๆ ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคจำแนกตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีต่อการประกันภัยประเภทต่าง ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญตามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมการตลาดกับการประกันภัยประเภทต่าง ๆ ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรคือ ผู้ซื้อการประกันภัยประเภทต่าง ๆ ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่มีที่พักอาศัยหรือมีสถานที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ขนาดตัวอย่าง 400 ราย การวิจัยใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิเป็นเบื้องต้น และใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้การคำนวณทางสถิติ เพื่อเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลจากการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีจำนวนหญิงมากกว่าชาย จบปริญญาตรีมากที่สุดมีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป โดยมีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างเลือกการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 มากที่สุดเพราะมีความเข้าใจและเห็นว่าคุ้มค่า โดยส่วนใหญ่จะเลือกซื้อการประกันภัยรถยนต์ด้วยตนเอง ผู้บริโภคที่มีลักษณะประชากรศาสตร์แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประกันภัยประเภท พ.ร.บ. ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งเป็นความคุ้มครองพื้นฐานไม่แตกต่างกัน แต่มีความคิดเห็นต่อการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และ 3 แตกต่างกันในบางหัวข้อ ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก แต่เฉพาะการส่งเสริมการตลาดมีส่วนสำคัญค่อนข้างน้อยต่อการประกันภัยรถยนต์ จึงควรเน้นด้านการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายมากกว่าการ ลด แลกแจก แถม ควรมีการพิจารณาปรับปรุงการประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 และ พ.ร.บ. และควรสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7707
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79792.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons