กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7719
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อชานมไข่มุกร้านแบร์เฮาส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relation of marketing mix factors and the consumer’s pearl milk tea purchase at Bearhouse Store in Bangkok Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประภาศรี พงศ์ธนาพานิช สุภรัชต์ สีแจ้, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ชานมไข่มุก--การตลาด การศึกษาอิสระ--การจัดการธุรกิจและการบริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อชานมไข่มุกร้านแบร์เฮาส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างผ่านแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม online โดยการสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร โดยขอบเขตของงานวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการร้านแบร์เฮาส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2563 สำหรับสมมติฐานในงานวิจัยครอบคลุมทั้งปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านกระบวนการและปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อชานมไข่มุกร้านแบร์เฮาส์ เพราะเพศของกลุ่มผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อชานมที่แตกต่างกันโดยเพศหญิงจะนิยมบริโภคชานมมากกว่าเพศชาย อายุของกลุ่มของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อชานม และผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาด ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกร้านแบร์เฮาส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครในทุกด้าน หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวแปรทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ซึ่งบริษัทนำมาใช้ร่วมกันเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7719 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License