Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7723
Title: ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Strategy of Prachuap Khirikhan Provincial Cultural Office
Authors: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีศักดิ์ คงพันธุ์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์--แง่ยุทธศาสตร์
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การดำเนินงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 38 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และการสนทนาแบบกลุ่ม และวิเคราะห์สรุปข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพแวดล้อมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีจุดแข็ง คือ มีบุคลากรมีความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงาน สามารถปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี จุดอ่อน คือ ขาดการทำงานเป็นทีม บุคลากรไม่ครบตามโครงสร้างของหน่วยงาน บุคลากรปฏิบัติงานได้แต่หน้าที่ของตัวเอง ยังไม่สามารถทำงานแทนกันได้ ขาดแรงจูงใจ หรือกำลังใจในการทำงาน ด้านโอกาส มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ช่วยทำให้บุคลากรปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บริการต่าง ๆ หรือการประชาสัมพันธ์ได้ง่าย ด้านอุปสรรค งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากส่วนกลางนั้นมีจำกัด (2) เสนอยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การดำเนินงาน ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาต้นทุนทางวัฒนธรรมในสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1.1 การพัฒนาองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม และกลยุทธ์ที่ 1.2 การสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเชื่อมโยงและยกระดับเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 2.1 การขยายเครือข่ายทางวัฒนธรรมโดยเน้นการบูรณาการในระดับพื้นที่ และกลยุทธ์ที่ 2.2 การส่งเสริมให้เกิดชุมชน บุคคลต้นแบบด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการองค์ความรู้ให้เป็นระบบ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 3.1 การจัดการองค์ความรู้ด้านการบริหาร และกลยุทธ์ที่ 3.2 การจัดการองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของบุคลากร ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 4.1 การสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อดึงศักยภาพของบุคลากร กลยุทธ์ที่ 4.2 การส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถ ทักษะ และความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7723
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons