Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7724
Title: | ปัจจัยที่มีต่อการสั่งยารักษาโรคเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase (DPP)-4 inhibitor ของแพทย์ประจำโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Factors affecting doctors of hospitals in Chiang Mai Province towards choosing a prescription in dipeptidyl peptidase (DPP)-4 inhibitor class of oral antihyperglycemic agents group |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล ปาจรีย์ แสงสิทธิศักดิ์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี เบาหวาน--การรักษา การศึกษาอิสระ--การตลาด |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของแพทย์ประจำโรงพยาบาล (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการสั่งยารักษาโรคเบาหวาน ในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase (DPP)-4 inhibitor (3) ปัจจัยด้านแพทย์ที่มีต่อการสั่งยารักษาโรคเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase (DPP)-4 inhibitor ของแพทย์ประจำโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้คือแพทย์ที่ทำงานเต็มเวลาให้กับโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 41-50 ปี และปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลของรัฐบาล ในโรงพยาบาลที่มีขนาดจำนวนเตียง 301-450 เตียง จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานตรวจต่อสัปดาห์ คือ 51-100 คน จำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจ่ายยาลดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อรักษาต่อสัปดาห์คือ 10-20 รายต่อสัปดาห์ มีประสบการณ์ในการรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ช่วงระยะเวลา 11-15 ปี ไม่มีโอกาสในการจ่ายยาการจ่ายยาลดระดับน้ำตาลใน เลือดในคลินิกส่วนตัวหรืองานนอกเวลา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจนำยาเบาหวานเข้าเป็นยาในบัญชี โรงพยาบาล (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการสั่งยารักษา โรคเบาหวาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ในด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคาอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาอันดับความสำคัญปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการสั่งยาของแพทย์ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัดจำหน่าย (3) ปัจจัยด้านแพทย์ที่มีความสำคัญ ต่อการสั่งยารักษาโรคเบาหวาน 3 ลำดับแรก ได้แก่ความพร้อมของแพทย์ในด้านความรู้เรื่องโรค เรื่องยา วิธีการรักษา ความชอบส่วนตัวของแพทย์อิทธิพลของเพื่อนแพทย์และทีมแพทย์ ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7724 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150939.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License