กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7745
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of local tax collection administration in the Office of Ratburana District, Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นพดล อุดมวิศวกุล อรรถพล แสนเรือง, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การจัดเก็บภาษี ภาษีบำรุงท้องที่ การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และ (3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนผู้ที่มีหน้าที่เข้าข่ายยื่นเสียภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 6,542 คน กลุ่มตัวอย่าง 377 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทบสอบค่าทีและค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ประชากรในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีท้องถิ่น สำนักงานเขตราษฎร์ บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 คน สำหรับวิเคราะห์เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ คือ เจ้าหน้าที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานขาดการประชาสัมพันธ์ ประชาชนไม่ทราบหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดในการยื่นแบบและชำระภาษี ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมไม่เห็นถึงความสำคัญของการยื่นเสียภาษีท้องถิ่น ระบบแผนที่ภาษี เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีความทันสมัย (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ คือ ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่ ปัจจัยด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านแผนที่ภาษี และปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดเก็บภาษี ท้องถิ่นของสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ คือ การประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก เพื่อให้ประชาชนทราบถึงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนระยะเวลาของการยื่นเสียภาษีท้องถิ่นอย่างชัดเจน การให้บริการนอกสถานที่ถึงสถานประกอบการ การปรับปรุงจัดทำแผนที่ภาษี เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7745 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150995.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License