กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7754
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating quality of working life of staff in life insurance company in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เขมมิกา สรรเสริญ, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพชีวิตการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขวิทยาและปัจจัยองค์กรของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร 24 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 15,604 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ และปัจจัยสุขวิทยาของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนปัจจัยองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) พนักงานที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานไม่แตกต่างกัน (4) ปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (5) ปัจจัยองค์กรมีความสัมพันธ์ไปในทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7754
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons