Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7793
Title: | พฤติกรรมการซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Consumer buying behavior of packed rice in Muang District, Nakonratchasima Province |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล โกมุทร์ ศรีผำน้อย, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค ข้าว การศึกษาอิสระ--การตลาด |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในเขต อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ใช้ในการเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ (4) การเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่่ใช้ความน่าจะเป็นและ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญกับผู้ที่เคยซื้อข้าวสารบรรจุถุงเพื่อบริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคส์แควร์ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบ ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการซื้อพบว่าชนิดของพันธ์ข้าวสารที่ซื่อคือ ข้าวหอมมะลิ 100% ซื้อกิโลกรัมละ 36- 40 บาท ซื้อแบบไม่เจาะจง เหตุผลที่ซื้อคือรสชาติดี นุ่ม หอม ซื้อ 1 ถุงต่อครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ซื้อที่ร้านค้าปลีก (บิ๊กซี,โลตัส) ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง สื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ โทรทัศน์ (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดอยูในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสะอาดปลอดภัย ราคาถูก กว่าคู่แข่งขันและแหล่งจำหน่ายมีสินค้าให้เลือกหลายประเภท (3) การทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับลักษณะการตัดสินใจซื้อตราสินค้า และไม่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการซื้อ ตราสินค้าที่ซื้อ และความถี่ในการซื้อ (4) การทดสอบความแตกต่างของพฤติกรรมการซื้อพบว่า พฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านพบว่า ด้านชนิดพันธ์ุข้าวสารที่ซื้อมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านราคา และด้านตราสินค้าของข้าวสารที่เคยซื้อมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7793 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_151732.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License