Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/781
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Factors related to the performance of elderly clubs in Uthai Thani Province
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีป สมัครการไถ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ชมรมผู้สูงอายุจังหวัดอุทัยธานี--การบริหาร
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี (2) ปัจจัยด้านชมรม ด้านกรรมการชมรม การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ประชากรที่ศึกษา คือ ชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานีทั้งหมด จำนวน 364 ชมรม เก็บข้อมูลจากผู้บริหารชมรมทุกแห่ง โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงของปัจจัยรวมเท่ากับ 0.955 ได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 298 ชุด คิดเป็นร้อยละ 81.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยด้านกรรมการชมรม และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรมในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยด้านกรรมการชมรมปัจจัยด้านการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรม มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ (4) ปัญหา อุปสรรคที่พบ ได้แก่ ผู้สูงอายุมาร่วมกิจกรรมน้อยเพราะมีปัญหาเรื่องพาหนะ อายุมาก ภาระงานที่ทํา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เห็นความสำคัญของชมรมและสนับสนุนงบประมาณน้อยชมรมขาดผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นกรรมการชมรม โดยผู้บริหารชมรม มีข้อเสนอแนะว่าควรจัดรถรับ-ส่งผู้สูงอายุที่มาเข้าร่วมกิจกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนชมรมอย่างเต็มรูปแบบ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ชมรมควรชักชวนหรือคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารชมรม เช่น ข้าราชการบำนาญ สนับสนุนให้สมาชิกที่มีอายุน้อยเข้ามาเป็นกรรมการชมรมผู้สูงอายุ การให้ความสําคัญของการพัฒนาคน พัฒนาศักยภาพของกรรมการ สร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจให้กรรมการชมรม รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ควรสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และเป็นที่ปรึกษาแก่ชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/781
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108742.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons