กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7812
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions of the officials on performance appraisal of the offices of court of justice in Bangkok Vicinity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไล สารประดิษฐ์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บุคลากร--การประเมิน
บุคลากรทางกระบวนการยุติธรรม--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานศาลยุติธรรมในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกียวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จําแนกตามพื้นที่และปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางในการปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานศาลยุติธรรม ข้าราชการศาลยุติธรรม ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากร ของสำนักงานศาลยุติธรรมในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 135 คน คำนวณโดยสูตรของยามาเน่ จากประชากรจำนวน 205 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ค่าเอฟ และวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า (1) ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ การประเมินสมรรถนะ (2) บุคลากรสำนักงาน ศาลยุติธรรมใน เขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในพื้นที่ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรต่างประเภทกัน มีความคิดเห็นต่อการ ประเมินผลการปฏิบัติราชการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกนั้นไม่แตกต่าง (3) ความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัญหาสำคัญได้แก่ ผู้ประเมินกำหนดมาตรฐาน ในการปฏิบัติงานไว้สูงเกินไป มาตรวัดสมรรถนะของแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน ผู้ประเมินไม่รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้รับการประเมิน ข้อเสนอแนะสำคัญ ได้แก่ ควรกำหนดมาตรฐานงานที่เป็นธรรมและชัดเจน มาตรวัดควรที่มีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันควรนำสมรรถนะในงานของแต่ละตำแหน่งมาประกอบในการประเมินสมรรถนะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการพัฒนาระบบ การประเมิน และควรจัดให้มีการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีความสมบูรณ์และทันเวลา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7812
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_144701.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons