กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7823
ชื่อเรื่อง: การคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้จานดาวเทียมพีเอสไอ ทรูวิชั่นส์ในจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Customer expectation and perception of using PSI true vistion Satellite in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐวดี ดาวเรือง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การรับรู้
จานดาวเทียม
การศึกษาอิสระ--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้จานดาวเทียม พีเอสไอ ทรูวิชั่นส์ ในจังหวัดนนทบุรี (2) ระดับการคาดหวังที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผู้ใช้จานดาวเทียม พีเอสไอ ทรูวิชั่นส์ ในจังหวัดนนทบุรี และ (3) ระดับการรับรู้ที่มีต่อ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผู้ใช้จานดาวเทียม พีเอสไอ ทรูวิชั่นส์ในจังหวัดนนทบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เคยใช้ จานดาวเทียม พีเอสไอ ทรูวิชั่นส์ ในจังหวัดนนทบุรีที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยมีความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-35 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือน 15,001- 25,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับจ้าง/พนักงานเอกชน จำนวนสมาชิก ครอบครัว 1-3 คน ชมรายการโดยเฉลี่ย 3-6 ชั่วโมงต่อวัน (2) ระดับการคาดหวังที่มีต่อปัจจัยส่วน ประสมการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบุคคลมีการ คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพนักงานมีความชำนาญในการซ่อมบำรุงหรือแก้ไขปัญหา รองลงมา ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริม การตลาด ด้านบริการ และด้านราคา และ (3) ระดับการรับรู้ ที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบุคคลมีการรับรู้ อยู่ในระดับมาก ที่สุด โดยพนักงานยินดีและเต็มใจให้บริการ รองลงมา ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้าน ผลิตภัณฑ์ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบริการ และด้านราคา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_145883.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons