กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7824
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of working life of personnel in the Personnel Administration, Office of Permanent Secretary of the Ministry of Public Health
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จําเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพชรพิกุล เหลาทอง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข --พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) ระบุปัญหาและเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 228 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 145 คน โดยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตําแหน่งงาน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทํางานไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาของคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรกลุ่มบริหารงานบุคคล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คือ สถานที่ทํางานคับแคบและอุปกรณ์สํานักงานมีสภาพเก่า ปริมาณงานมากและเร่งด่วน แต่หน่วยงานไม่มีล่วงเวลาการ ปฏิบัติราชการให้และไม่มีการเปิดสอบภายในเพื่อให้บุคลากรผู้มีวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นสามารถสอบเปลี่ยนตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้มีการจัดทํา 5 ส. ทุกเดือน ควรเบิกค่าล่วงเวลาการปฏิบัติราชการนอกเวลาราชการในกรณีที่มีปริมาณงานมาก และเร่งด่วน และควรจัดให้มีการจัดทําแผนเส้นทางอาชีพและส่งเสริมให้บุคลากรภายในหน่วยงานมีโอกาสสอบเลื่อนตําแหน่งที่สูงขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext 145918.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons