กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7847
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้การบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Employee perception of sustainable green office management of Provincial Electricity Authority Region 1 (Central Region) Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์ สุเมธ รักเดช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การจัดการสำนักงาน--แง่สิ่งแวดล้อม การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการรับรู้การบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืนของพนักงาน (2) ระดับหลักอุปนิสัยของพนักงานในการเป็นพนักงานสำนักงาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืนกับหลักอุปนิสัยของพนักงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานในสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2,705 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรทาโรยามาเน่ ได้ 350 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การรับรู้การบริหารจัดการสำนักงานสีเขียว ด้านการรับรู้ต่อการนำนโยบายสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติงานหรือการมีส่วนร่วม ส่วนด้านทัศนคติต่อการนำนโยบายสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืนอยู่ในระดับน้อยที่สุด (2) หลักอุปนิสัยของพนักงานในการเป็นพนักงานสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิเสธวัตถุดิบที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือไม่สอดคล้องตามใบเสนอราคา ไม่รับสินค้าและแจ้งกลับไปยังผู้ขายทันที การลดการใช้กระดาษด้วย Soft file แทนการส่งแฟกซ์ ใช้ผ้าเช็ดมือแทนกระดาษ ใช้บันไดแทนลิฟท์ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการนำวัสดุใช้แล้วกลับมาเวียนใช้หรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ อยู่ในระดับน้อยที่สุด (3) การรับรู้การบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวแบบยั่งยืนไม่มีความสัมพันธ์กับหลักอุปนิสัยของพนักงานในการเป็นพนักงานสำนักงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7847 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161275.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License