กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7859
ชื่อเรื่อง: | การบริการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลนครลำปาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Public service in waste water management with local wisdom of Lampang Municipality |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ ธิดารัตน์ นันกด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริการสาธารณะ--ไทย--ลำปาง การกำจัดน้ำเสีย--การมีส่วนร่วมของประชาชน การกำจัดน้ำเสีย--ไทย--ลำปาง การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสีย ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลนครลำปาง (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลนครลำปาง (3) แนวทางในการพัฒนาการบริการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลนครลำปาง ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลนครลำปางได้มีการดำเนินการที่สำคัญ คือ การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาน้ำเสีย การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำเสีย การกำหนดแผนงานและโครงการในการแก้ไขปัญหา การดำเนินก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และติดตามผลการบำบัดน้ำเสีย โดยรูปแบบการบำบัดน้ำเสียปลายท่อแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น มีกระบวนการหลัก 5 ขั้นตอน คือ การบำบัดแบบกายภาพ การบำบัดแบบเคมี การบำบัดแบบชีวเคมี การเติมอากาศ และใช้วัสดุช่วยดูดซับกลิ่น (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญในการจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง บุคลากรมีการทำงานเป็นทีม มีความรู้ ความสามารถ เทศบาลนครลำปางมีการกำหนดปัญหาน้ำเสียไว้ในแผนอย่างชัดเจน และประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา (3) แนวทางในการพัฒนาการบริการสาธารณะด้านการจัดการน้ำเสียด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เทศบาลนครลำปางมีการดูแลรักษาบ่อบำบัดอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาต่อยอดไปยังพื้นที่อื่น มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ มีการประสานการมีส่วนร่วม และมีการติดตามประเมินผล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7859 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161299.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License