กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7860
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ขององค์การกับศักยภาพทุนมนุษย์ กรณีศึกษา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between organizational learning with human capital potential : a case study of the office of the Crown Property Bureau
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑามาศ เปรมเจริญ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การเรียนรู้องค์การ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการเรียนรู้ทุนมนุษย์ในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์(2) เปรียบเทียบศักยภาพทุนมนุษย์ตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยการเรียนรู้ของ องค์กรที่มีผลต่อศักยภาพทุนมนุษย์(4)ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเรียนรู้ขององค์กรกับศักยภาพทุนมนุษยั การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือบุคลากรสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จำนวน307คนจากกลุ่มประชากรทั้งหมด 1324คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความลี่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า(1)ศักยภาพทุนมนุษย์ในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาปัจจัยรายด้านพบว่า ด้านระบบเอื้อต่อการมีใจปฏิบัติงานมี ค่าสูงสุด และด้านความสามารถในการเรียนรู้มีค่าต่ำสุด(2)เปรียบเทียบศักยภาพทุนมนุษย์ในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศพบว่าศักยภาพทุนมนุษย์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาศักยภาพทุนมนุษย์จำแนกตามอายุ สถานภาพ ครอบครัว ระดับการศึกษาหน่วยงานที่สังกัด ระดับตำแหน่งงาน อัตราเงินเดือนและระยะเวลาปฏิบัติงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3)ปัจจัยการเรียนรู้ขององค์การที่มีผลต่อ ศักยภาพทุนมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้มี ค่าสูงสุดและต้านการทำงานเป็นทีมและแบบเครือข่ายมีค่าต่ำสุด(4)ความสัมพันธ์ของปัจจัยการเรียนรู้ขององค์กรกับศักยภาพทุนมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการทำงานเป็นทีมและแบบเครือข่ายมีค่าสูงสุด และด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้มีค่าต่ำสุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7860
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146459.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons