กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7866
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนายุทธศาสตร์ระบบการขนส่งทางถนนให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกรมการขนส่งทางบก ในเขตจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of land transportation system strategy for safety and environment of Department of Land Transportation in Chonburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นพดล อุดมวิศวกุล ทวีศักดิ์ พูนทรัพย์โสภณ, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การขนส่งทางบก--ไทย--ชลบุรี--แง่ยุทธศาสตร์. การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาของการพัฒนายุทธศาสตร์ระบบการขนส่งทางถนนให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกรมการขนส่งทางบก ในเขตจังหวัดชลบุรี (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนายุทธศาสตร์ระบบการขนส่งทางถนนให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกรมการขนส่งทางบก ในเขตจังหวัดชลบุรี และ (3) เสนอแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์ระบบ การขนส่งทางถนนให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกรมการขนส่งทางบก ในเขตจังหวัดชลบุรี การศึกษานี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ประจำรถ และสถานตรวจสภาพรถ จำนวน 2,452 ราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 344 คน คำนวณโดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้บริหารกรมการขนส่งทางบก และผู้บริหารสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี รวมผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 4 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัญหาของการพัฒนายุทธศาสตร์ ภาครัฐขาดการสนับสนุน การขนส่งสาธารณะ ประชาชนขาดวินัยและจิตสำนึกด้านความปลอดภัย การใช้เทคโนโลยียังไม่เหมาะสม และขาดนวัตกรรมใหม่ ๆ กฎหมายไม่สอดคล้องกับความต้องการและเป็นปัจจุบันรวมถึงขาดการบังคับใช้ ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกลยุทธ์องค์การและการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนายุทธศาสตร์ (2.1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ เท่ากับ .549, .222, .169, .136, .073 และ .030 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 (2.2) ปัจจัยภายใน ได้แก่ กลยุทธ์องค์กร ค่านิยมร่วม รูปแบบการบริหาร ทักษะ ระบบปฏิบัติการ โครงสร้างองค์กร และบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ เท่ากับ .235, .234, .153, .148, .100, .046 และ .035 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 (3) แนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาด้านกลยุทธ์การควบคุม ระเบียบ ข้อบังคับ ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การพัฒนาด้านกลยุทธ์การกำกับ ให้มีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการกำกับการเดินรถและการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ โดยมีการส่งข้อมูลการรายงานผลในขณะดำเนินการ การพัฒนาด้านกลยุทธ์การดูแล โดยการให้ความรู้ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและปลูกจิตสำนึกในการป้องกันและลดอุบัติเหตุรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุและมลพิษที่เกิดจากรถ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7866 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License