กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7871
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing intention to use customs department’s electronic tax payment system in the area of Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ
ธิดารัตน์ เนียรสันเทียะ, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระภาษี--ไทย--ชลบุรี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ความเสี่ยงของระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี 2) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีของระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี 3) ระดับความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี 4) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และ 5) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี ที่ใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน ได้จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการรับรู้ความเสี่ยงของระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีของระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 3) ระดับความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ 82.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 5) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ด้านการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ และด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ 74.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7871
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons