กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/787
ชื่อเรื่อง: | ค่าตอบแทนและการประกันสังคมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Compensation and social security for home workers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฏ ลีดส์ อภิรัต ทองประดิษฐ์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กำจร นากชื่น |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ประกันสังคม ค่าจ้าง การทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ วิธีการและลักษณะของงานที่รับไปทำที่บ้าน รวมถึงการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านของประไทย 2) เพื่อวิเคราะห์คุ้มครองและสวัสดิการด้านแรงงาน รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านควรได้รับ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 5) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับผู้รับงานไปทําที่บ้าน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสารทางกฎหมาย (Legal Research) โดยการรวบรวมการค้นคว้าจากตำราทางวิชาการ บทความ ตัวบทกฎหมาย สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศโดยใช้วิธีวิเคราะห์ตัวบทกฎหมาย รวมถึงมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศจากอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 177 ค.ศ. 1996 ข้อแนะฉบับที่ 184 ค.ศ. 1996 และอนุสัญญาฉบับที่ 102 ค.ศ.1952 ผลของการศึกษาได้พบว่าผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับค่าตอบแทนที่ตํ่ากว่าค่าตอบแทน ที่ผู้จ้างงานจ่ายให้กับแรงงานในระบบสวัสดิการของผู้รับงานไปทำที่บ้านจะไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ จากผู้จ้างงาน ซึ่งแตกต่างกับแรงงานในระบบที่ได้รับสวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น สวสัดิการในที่ทํางาน และสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคมรองรับเช่น เจ็บป่วยคลอดบุตร ชราภาพ เป็นต้น ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับต้องการใหม่การแก้ไข้ ค่าตอบแทนขั้นต่ำโดยให้มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนที่มีภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐ ซึ่งจะกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำให้กับแรงงานรับงานไปทำที่บ้านได้อย่างเป็นธรรม และสวัสดิการประกันสังคมควรกำหนดให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมในมาตรา 33 ให้รวมถึงผู้รับงานไปทำที่บ้านด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/787 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib135313.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License