กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7884
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting mathematics learning achievement of vocational certificate students Chaiyaphum College of Agriculture and Technology in Chaiyaphum Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก ปริญธร อุ่นเวียง, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--คณิตศาสตร์ การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ และ (2) สร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิประชากร คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 302 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบสอบถามปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน และแบบบันทึกคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เท่ากับ .539, .498 และ .878 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรตามได้ร้อยละ 77.6 ซึ่งมีขนาดสูงมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน Achievement' = -1.943 + 1.092 (Interaction) + 0.026(Attitude) + 0.081 (Behavior) Z'Achievement - 0.835 (Znteraction) +0.020 (ZAttitude) + 0.064 (ZBehavior) |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7884 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License