กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7888
ชื่อเรื่อง: | การบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Collaborative network administration of dual vocational education management of colleges under Vocational Education in Phuket |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ กุลริศา ตรีโชติ, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี อาชีวศึกษา--ไทย--ภูเก็ต--การบริหาร การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต (2) เปรียบเทียบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต จำแนกตามตำแหน่ง และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 14 คน ครู 27 คน ผู้บริหารสถานประกอบการ 195 คน และครูฝึกในสถานประกอบการ 56 คน รวมทั้งหมด 292 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ การจัดการหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การจัดการฝึกอาชีพ และการประเมินผล (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาจําแนกตามตำแหน่งพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน มีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้บริหารสถานประกอบการและครูฝึกในสถานประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัญหาพบว่า หลักสูตรการเรียนการสอนไม่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ข้อเสนอแนะ คือ สถานศึกษาและสถานประกอบการควรร่วมกันจัดทําหลักสูตรและแผนการเรียน ตามความต้องการของสถานประกอบการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7888 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License