กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7891
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการติดตั้งกระจกสำหรับผลิตภัณฑ์ระบบผนังกระจกของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency improvement of glazing line for curtain wall product of a private company
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑา ศรีตะเจริญไพบูลย์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: กระจก
ผนังโครงคร่าวรับน้ำหนัก
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาของสายการผลิตแบบเดิมของสายการติดตั้งกระจก (2) ออกแบบและปรับปรุงสายการติดตั้งกระจก (3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพสายการ ติดตั้งกระจกแบบเดิมและสายการติดตั้งกระจกแบบใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการศึกษาสภาพปัญหาของสายการติดตั้ง กระจกแบบเดิม โดยการสังเกตการณ์ของผู้วิจัย การประชุมระดมความคิดโดยใช้ผังแสดงเหตุ และ ผลการศึกษาแนวคิดการออกแบบผังโรงงาน แนวคิดประสิทธิภาพ แนวคิดการออกแบบกำลังการผลิต แนวคิดการออกแบบกระบวนการผลิต แนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แนวคิดการลดความสูญเปล่า 7 ประการของกระบวนการผลิต เพื่อประยุกต์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการติดตั้ง กระจกของโรงงานกรณีศึกษาโดยการออกแบบรถเข็นเคลื่อนที่ได้เพื่อใช้ทดแทนรางลูกกลิ้งลำเลียง วิเคราะห์ข้อมูลรายงานผลการผลผลิตประจำวันซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมโดยผู้จัดการแผนกผลิต การสังเกตการปฏิบัติงานของพนักงานโดยผู้วิจัยเปรียบเทียบระหว่างก่อน และหลัง การปรับปรุง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่ การสื่อสาร ระหว่างหัวหน้างานกับพนักงานต่างด้าว เวลาสูญเปล่าของพนักงานติดตั้งกระจก การได้รับวัสดุ ล่าช้า รางลูกกลิ้งลำเลียงมีความยาวจำกัด พัลเลตสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ไม่เพียงพอ การใช้รถยกร่วมกับหน่วยงานอื่น (2) ออกแบบสายการติดตั้งกระจกใหม่โดยใช้รถเซ็นเคลื่อนที่ได้แทนรางลูกกลิ้ง ลำเลียง (3) สายการติดตั้งกระจกแบบใหม่สามารถ 1) ลดเวลาสูญเปล่าของพนักงานติดตั้งกระจก และยาซิลิโคนจำนวน 8 คน ลงได้ 10 ชั่วโมงแรงงานต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 15.63 ของเวลาทำงาน ปกติคิดเป็นเงิน 116,250 บาทต่อปีระยะเวลาคืนทุนภายใน 1ปี 10เดือน2)เพี่มกำลังการผลิตจาก 18 โครงต่อวัน เป็น 25 โครงต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.89
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7891
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155008.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons