กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7899
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของพนักงานในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม ประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting saving preference of aluminum industry employees in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ผาสุข
เกตุสิริ ธนะเลิศพันธ์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมอะลูมินัม--พนักงาน--การเงินส่วนบุคคล
การออมกับการลงทุน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมของพนักงานในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม ประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของพนักงานในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม ประเทศไทยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานอุตสาหกรรมอลูมิเนียมในประเทศไทย โดยมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 458 คน คำนวณด้วยวิธีสูตรของยามาเน โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามด้วยการเก็บแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบียงเบน สําหรับการศึกษาพฤติกรรมรูปแบบการออมของพนักงาน และแบบจําลองถดถอยโลจิสติกแบบพหุกลุ่มในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของพนักงาน โดยมีรูปแบบการออม คือ ออมเป็นเงินสด เงินฝากออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล กรมธรรม์ประกันชีวิต สลากออมสิน เงินฝากประจํา ทองคํา และรูปแบบการออมมากกว่า 1 อย่าง ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 21-23 ปี การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นพนักงานฝ่ายผลิตและมีการทำงานเป็นกะ มีการวางแผนและมีการออมร้อยละ 84.50 และ 84.28 มีเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 41.40 รองลงมาเป็นเงินสดร้อยละ 33.J0 และฝากประจําร้อยละ 8.0 มีการออมเงินเฉลี่ยเดือนละ 2,354.82 บาท ปัจจัยที่มีผลต่อการออมในระดับมาก คือ ด้านวัตถุประสงค์ในการออม ระดับปานกลาง คือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการออมและการควบคุมตัวเองด้านใช้จ่าย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการคอม คือ อายุ รายได้ต่อเดือน รายได้ครัวเรือนรายจ่ายต่อเดือน ความรู้เกี่ยวกับการออมและวัตถุประสงค์การออม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการออมและวัตถุประสงค์การออมจะเพิ่มโอกาสในการออมในรูปแบบออมทรัพย์ 2.652 และ 4.242 เท่า ปัจจัยรายจ่ายต่อเดือน รายได้ครัวเรือนต่อเดือน รายได้ต่อเดือนจะเพิ่มโอกาสในการออมในรูปแบบทรัพย์สิน 6.452 6.205 และ 0.02 เท่า ส่วนอายุจะมีผลต่อการออมในรูปแบบการฝากออมทรัพย์และฝากประจำในทิศทางตรงกันข้าม คือ 0.808 และ 0.683 เท่า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7899
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons