Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7901
Title: ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย
Other Titles: Economic factors affecting international tourist arrivals in Thailand
Authors: อภิญญา วนเศรษฐ
บุญสรรค์ ประเสริฐกุลชัย, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักท่องเที่ยวต่างชาติ--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของนักท่องเที่ยวชาวจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2556 - 2562 และ (2) วิเคราะห์ปัจจัยระดับมหภาคที่กําหนดจํานวนนักท่องเที่ยวชาวจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2562 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย และการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กําหนดจํานวนนักท่องเที่ยวจากจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐอเมริกาที่มาท่องเที่ยวในไทย โดยวิเคราะห์ข้อมูลรายไตรมาส ได้แก่ จํานวนนักท่องเที่ยว ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราแลกเปลี่ยน และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของแต่ละปัจจัยด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา ผลการศีกษา พบว่า (1) นักท่องเที่ยว 6 ประเทศ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ 6 ปี ปี 2562 นักท่องเที่ยวจากจีนมีจํานวน 11.14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 28 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด อินเดีย (ร้อยละ 3.3) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 4.7) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 4.5) รัสเซีย (ร้อยละ 3.7) และสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 2.9) ตามลำดับ และ (2) ปัจจัยระดับมหภาคที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และอัตราแลกเปลี่ยน นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .10 สําหรับอินเดียและเกาหลีได้กล้ายคลึงกัน โดยเป็นผลจากดัชนีราคาผู้บริโภค นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .10 ตามลำดับ ขณะที่รัสเซียเป็นผลจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสหรัฐอเมริกาเป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยน นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .10 แต่ปัจจัยที่ศึกษาไม่ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวอาจจะมีผลจากตัวแปรในเชิงเปรียบเทียบ และตัวแปรเชิงจิตวิทยาด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7901
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons