กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/792
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยปวดหลังจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยใช้แนวทางการดูแลรักษาคลินิกทางกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effectiveness of medical care for back pain patients caused by herniated nucleus palposue using clinical practice guidelines for physical therapy in Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรเดช ประดิษฐบาทุกา ทิพวิมล ดำช่วย, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พาณี สีตกะลิน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ปวดหลัง--การรักษา ปวดหลัง--กายภาพบำบัด |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยปวดหลังจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังโดยใช้แนวทางการดูแลรักษาคลินิกทางกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยศึกษาผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยและระบบการดูแลรักษาข้อเสนอแนะผู้ป่วย สิ่งทดลอง คือ แนวทางการดูแลรักษาคลินิกทางกายภาพบำบัดประกอบด้วย ระบบการคัดกรองผู้ป่วยแผนการดูแลรักษาโดยใช้แนวทางการดูแลรักษาคลินิกทางกายภาพบ่าบิด และแผนการดูแลตนเองของผู้ป่วย ประชากรคือผู้ป่วยปวดหลังจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังจำนวน 90 คนที่มารับการรักษาที่งานกายภาพบำบัดในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 - มีนาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยปวด หลังจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง จำนวน 45 คน โดยใช้แนวทางการดูแลรักษาคลินิกทางกายภาพบำบัด ที่มารับการรักษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 มีนาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มควบคุมคือ ผู้ป่วยปวดหลังจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง จํานวน 45 คน ที่มารับการรักษาตั้งแต่เดือนมกราคม OhioLINK L -ธันวาคม พ.ศ. 2550 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้การทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีผู้ป่วยที่ต้องกลับมารับการรักษาภายใน 14 วันหลังจากวันสิ้นสุด การรักษา ค่าเฉลี่ยของจํานวนครั้งทีต้องมารับการรักษา และค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษาจน สิ้นสุดการรักษากลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการวิจัยนี้มี านกายภาพบำบัดควรมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานของนักกายภาพป่าบิด และเจ้าหน้าที่เป็นไปแนวทางเดียวกันและตามมาตรฐานวิชาชีพในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดหลังจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/792 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
108826.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License