กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7932
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the achievement of applying good governance principles to university administration : a case study of Thammasat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เมทรดา กัญนราพงศ์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การบริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ (4) ทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นคณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา ศูนย์ลำปาง รวม 4 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้คำนวณตามแนวคิดของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้ตัวแทนตัวอย่างจำนวน ทั้งสิ้น 276 คน ตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกับคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ทั้ง 4 ศูนย์ ส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้เก็บข้อมูลจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าทางสถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้บริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ปัจจัยเชิงวัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้ากระบวนการและกิจกรรม และผลสัมฤทธิ์ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์มีอิทธิพลต่อ ระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าคือ ความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความสัมพันธ์กับหลักความรับผิดชอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาของการนำหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีมาใช้บริหารงาน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ การวางแผนเป็นแบบเฉพาะหน้าบ่อยครั้งแทนที่จะเป็นแผนแม่บท ขั้นตอนการอำนวยการยังเป็นแบบสมัยเก่าล่าช้า ขั้นตอนเยอะ การปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันของเว็บไซด์ล่าช้า ส่วนข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ และ ผู้บริหาร ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการสู่สังคม และการ บริหารด้านต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อลดข้อผิดพลาด ลดการทำงานซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อตอบสนองความ ต้องการของชุมชนอยางแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7932
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_140168.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons