กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7955
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการใชับัตรเดบิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Consumers' behaviors of debit card usage in Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร จันทิมา ฮ้อศิริกุล. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธิติพัฒน์ เอี่อมนิรันดร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ บัตรเดบิต พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้บัตรเดบิต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาถึงทัศนคติที่มีต่อบัตรเดบิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มีบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินในกรุงเทพมหานครและมีคุณสมบัติในการสมัครบัตรเดบิต คือ มาอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับการรับรู้ที่มีต่อบัตรเดบิต ทัศนคติที่มีต่อบัตร เดบิต พฤติกรรมการใช้บัตรเดบิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วย t-test F-test และ Scheffe โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ใช้บริการบัตรเดบิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนมากเป็นผู้หญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ 31-40 ปี เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท (2) บัตรเดบิตที่รู้จักมากที่สุด คือ บัตรเดบิตกรุงศรีวีซ่าอิเล็กตรอน รู้จักทางโทรทัศน์ ว่าเป็นบัตรที่ใช้ชำระแทนเงินสดเพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ และใช้ถอนเงินสดจากตู้บริการอัตโนมัติได้ (3) ทัศนคติที่มีต่อบัตรเดบิต คือ เบิกเงินสดได้ และสะดวกในการพกพา (4) พฤติกรรมการใช้บัตรเดบิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เบิกเงินสด สถานที่ใช้บัตรส่วนใหญ่ คือ ที่ห้างสรรพสินค้า โดยใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตต่อเดือน 2,000 – 5,000 บาท จำนวนครั้งที่ใช้บัตรโดยเฉลี่ยต่อเดือน 3-5 ครั้ง วันที่ใช้บัตรมากที่สุด คือ วันเสาร์-อาทิตย์หรือวันหยุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บัตร คือ ไม่ต้องเบิกเงินสดมาจ่าย (5) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต ได้แก่ ปัจจัยด้านระดับการศึกษา ด้านอายุ ด้านอาชีพ และด้านรายได้ต่อเดือนส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7955 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License