กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7970
ชื่อเรื่อง: ความรู้ที่จำเป็นในการจัดการเพื่อการนำระบบ Cardio vascular information system ไปใช้ในศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถโรงพยาบาลศิริราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Essential knowledge for the cardio vascular information system implementation at Her Majesty Cardiac Center, Siriraj Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินธร ถือแก้ว, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลศิริราช. ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ --การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับการตรวจรักษาโรคหัวใจเพื่อการจัดการระบบ Cardio Vascular Information System และ (2) วิธีการจัดการเพื่อนำระบบ Cardio Vascular Information System มาใช้ในศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช การศึกษาครั้งนี้มีวิธีการดำเนินการโดยศึกษาระยะเตรียมการนำระบบมาใช้ด้วยการเข้าร่วมอบรมการใช้โปรแกรม การศึกษาจากคู่มือของระบบ Cardio Vascular Information System การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกบอาจารย์แพทย์ จำนวน 1 คน ผู้เข้าร่วมการอบรมที่เป็นระดับผู้ใช้งานขั้นสูง จำนวน 1 คน และเจ้าหน้าที่บริษัท Philips ตำแหน่งที่ปรึกษา Cardio Vascular Information System จำนวน 1 คน โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกบการจัดการความรู้และวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) ความรู้ที่จำเป็นในการจัดการเพื่อนำระบบ Cardio Vascular Information System มาใช้ในศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช ได้แก่โปรแกรมหลัก ของผู้ใช้ระบบ ระบบการจัดการทรัพยากรของระบบ ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลระบบการจัดการรายงาน ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก ่Workflow ห้องตรวจส่วนหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจการตรวจวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก และการผ่าตัดหัวใจ การมีแกนนำทางความรู้ได้แก่ หัวหน้างาน หรือผู้จัดการความรู้ Super User และเจ้าหน้าที่บริษัท Philips มีความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทอด ความเป็นไปของระบบและการใช้ระบบในแต่ละส่วนอยางถูกต้อง และ (2) วิธีการจัดการเพื่อนำระบบ CVIS มาใช้เป็ นไปตามวงจรการพัฒนาระบบซึ่งเข้าสู่ระยะที่ 4 คือ การนำไปใช้ปรับเปลี่ยนแบบคู่ขนาน โดยแกนนำทางความรู้จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดการใช้งานระบบ Cardio Vascular Information System ให้เป็นไปอย่างถูกต้องจึงทำให้การนำระบบมาใช้งานได้ อย่างประสบความสำเร็จ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7970
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128350.pdf15.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons