กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7977
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาพฤติกรรมการซื้อของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อสินค้าในร้านค้าณจุดผ่านแดนชายแดนภาคใต้ตอนล่าง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of Thai tourist purchasing behavior toward Thai products at the border store in the lower southern region of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจนแสง สุพาพร ลอยวัฒนกุล, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม สมจิตร ล้วนจำเริญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ นักท่องเที่ยว--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาซื้อสินค้าบริเวณชายแดนด่าน ตม. (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าแต่ละหมวดของนักท่องเที่ยวชาวไทยจำแนกตามพฤติกรรมส่วนบุคคล (3) ศึกษาข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นของการซื้อสินค้าบริเวณชายแดนด่านตรวจคนเข้าเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน ได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และทำการเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการซื้อของนักท่องเที่ยวมาบริเวณด่าน ตม. 2-3 ครั้ง เดินทางมากับเพื่อน โดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ซื้อสินค้าไม่เกิน 5,000 บาท/ครั้ง ใช้เวลาเลือกซื้อสินค้า 1-2 ชม. มาซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้เอง มีเหตุผล ราคาถูก มากที่สุด ทราบว่าข่าวสารจาก เพื่อน/ญาติ (2) นักท่องเที่ยวเพศชายเลือกซื้อสินค้าสุรา/บุหรี่และเครื่องไฟฟ้ามากกว่าเพศหญิง ส่วนนักท่องเที่ยวเพศหญิงเลือกซื้อสินค้าเครื่องดื่ม ขนมและผ้าพื้นเมืองมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัวมีรายได้ 5,000-10,000 บาท สถานภาพสมรส และมาจากภาคใต้ มีพฤติกรรมการซื้อสินค้ามากที่สุด (3) ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นของการซื้อสินค้าที่ด่าน ตม. 1) ด้านสินค้า ควรมีคุณภาพและราคาถูก มีความหลากหลาย มีป้ายราคา วันผลิตและวันหมดอายุ ควบคุมราคา ในการมาเลือกซื้อสินค้า ควรได้รับความสะดวกในการจอดรถ และปลอดภัยจากสินค้าปลอมแปลง 2) ด้านร้านค้า ควรจัดระเบียบสินค้าในร้านค้าให้เป็นหมวดหมู่ และบริการส่งและรับเปลี่ยนคืนสินค้าให้ลูกค้า ผู้ประกอบการค้าขายต้องพูดได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มาเลเซียและ ภาษาจีน 3) ด้านด่าน ตม. ควรให้ความสะดวกในการตรวจเอกสารผ่านด่าน และให้บริการห้องน้ำสะอาด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7977 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License